วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การผสมพันธ์

วิธีการผสมพันธุ์

การผสมพันธุ์โคมีอยู่ 3 วิธีคือ

 1. การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง

เป็นการปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือผู้เลี้ยงไม่ต้อง
คอยสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบและผสมกับแม่พันธุ์เอง แต่มีข้อเสียคือถ้าแม่พันธุ์เป็นสัด  พ่อพันธุ์จะคอยไล่ตามจนไม่สนใจกินหญ้ากินอาหาร ถ้ามีแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกันจะทำให้   พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไขโดยขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหญ้า แล้วนำพ่อ  พันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก
        ในพ่อโคอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 20 ถึง 30 แม่ต่อพ่อโค 1 ตัว แต่ในพ่อโคอายุ 2 ปีถึง 2 ปีครึ่ง ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 12 ถึง 25 ตัวต่อพ่อโค 1 ตัว
ในทุกๆวันที่ปล่อยแม่โคออกไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า ควรจะขังพ่อโคไว้ในคอกพร้อมทั้งมีหญ้าและน้ำสะอาด
อย่างเพียงพอ มีร่มเงาให้พ่อโค พ่อโคจะมีเวลาอยู่กับแม่โคและผสมกับแม่โคที่เป็นสัดในช่วงเช้า เย็น และกลางคืน แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีพ่อโคตัวอื่นอยู่ในทุ่งหญ้านั้นด้วย มิฉะนั้นจะถูกแอบผสมก่อน การขังพ่อโคไว้ ดังกล่าวเพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับ  แม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น








2. การจูงผสม

เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์ การผสมโดยวิธีนี้ควร
แยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหากเพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ 
ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเอง ปกติพ่อโคสามารถใช้ผสม 
ได้สัปดาห์ละ 5 ครั้งหากมีการเลี้ยงดูที่ดี เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแม่โครายละประมาณ 5 ถึง 10 แม่ การที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้คุมฝูงเองอาจไม่ 

      คุ้มกับการลงทุน เพราะพ่อโค 1 ตัวสามารถใช้คุมฝูงได้ 25 ถึง 50 ตัวดังที่กล่าวมาแล้ว หากอยู่นอกเขตบริการ  ผสมเทียมจึงควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจัดซื้อหรือจัดหาพ่อพันธุ์มาประจำกลุ่ม เมื่อแม่โคเป็นสัดจึงนำแม่โคมารับการผสมจากพ่อโค เจ้าของแม่โคอาจต้องเสียค่าบริการในการผสมบ้างเพราะผู้เลี้ยงพ่อพันธุ์ต้องมีค่าใช้จ่าย 

ในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์ 

   แม่โคที่จะผสมกับพ่อโคจะต้องปราศจากโรคแท้งติดต่อ(หรือโรคบรูเซลโลซิส) ดังนั้นพ่อโคและแม่โค ของสมาชิกกลุ่มทุกตัวจะต้องได้รับการตรวจโรคและปลอดโรคแท้งติดต่อ เพราะหากพ่อพันธุ์เป็นโรคแล้วจะ แพร่โรคให้แม่โคทุกตัวที่ได้รับการผสมด้วย 



3. การผสมเทียม 

          เป็นวิธีการผสมที่นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นสัด โดยผู้ที่ทำการผสมเทียมจะสอดหลอด ฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของแม่โคที่เป็นสัด ปกติจะสอดหลอดผ่านคอมดลูก(cervic)เข้าไปปล่อยน้ำเชื้อใน มดลูกของแม่โค รายละเอียดจะกล่าวในหัวข้อ “การจัดการเกี่ยวกับการผสมเทียม” ต่อไป 

ขั้นตอนการผสมเทียมโค


1.สังเกตอาการภายนอก โคที่เป็นสัดจะยืนนิ่งให้ตัวอื่นปีนทับ มีเมือกใสไหลจากช่องคลอด อวัยวะเพศบวมแดง



2.สวม ถุงมือผสมเทียม ใช้สารหล่อหลื่น เช่นสบู่ ถูถุงมือแล้วล้วงผ่านทางทวารหนัก ล้วงอุจจาระออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้หมด ตรวจคลำระบบสืบพันธุ์ของแม่โคว่า แม่โคเป็นสัดจริงหรือไม่



3.ล้างบริเวณอวัยวะเพศภายนอกของแม่โคด้วยน้ำให้สะอาดและเช็ดทั้งด้านนอกด้านในให้แห้งด้วยกระดาษทิชชู หรือกระดาษฟาง



4.ใช้ สำลี ชุบแอลกอฮอล์เช็ดปากคีบ (forceps) ให้สะอาดก่อนใช้คีบหลอดน้ำเชื้อที่ต้องการออกจากถังสนาม แล้วแช่น้ำเชื้อลงในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 35-37 °C ทันทีนานเป็นเวลา 30 วินาที และเวลาตั้งแต่คีบหลอดน้ำเชื้อจนถึงแช่ลงในน้ำอุ่น ไม่ควรเกินกว่า 3 วินาที



5.เมื่อ ละลายน้ำเชื้อในน้ำอุ่นครบ 30 วินาทีแล้วใช้ปากคีบคีบหลอดน้ำเชื้อขึ้นมาเช็ดหลอดน้ำเชื้อด้วยกระดาษทิชชู หรือสำลีให้แห้งอย่าให้เหลือน้ำติดข้างหลอด สะบัดหลอดน้ำเชื้อให้ฟองอากาศไปอยู่ด้านที่ตีบ และตัดด้านที่ตีบโดยตัดระหว่างฟองอากาศ สอดหลอดน้ำเชื้อด้านที่ตัดเข้าไปในพลาสติกชีท และดันต่อเข้าไปจนสุด หลอดน้ำเชื้อจะล็อกกับจุกสีเขียวในพลาสติกชีท ดึงก้านปืนออกมาจากตัวปืนประมาณ 1 คืบแล้วสวมพลาสติกชีทที่มีหลอดน้ำเชื้ออยู่ภายในครอบปืนฉีดน้ำเชื้อ ดันตัวปืนไปจนสุดพลาสติคชีท ใช้วงแหวนล็อคพลาสติคชีทให้ติดปืน และล็อคให้แน่น





6.ทดสอบ น้ำเชื้อโดยกดก้านปืน ให้น้ำเชื้อปริ่มออกมาที่ปลายหลอดเล็กน้อย เพื่อมั่นใจว่าหากทำการผสมเทียม น้ำเชื้อจะไหลออกไปด้านนอก ไม่ไหลย้อนกลับเข้าในพลาสติกชีท สวมแซนนิตารีชีทหุ้มปืนทั้งหมดอีกชั้นหนึ่ง

7.สวมถุงมือ ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เปิดถ่างอวัยวะเพศแม่โคให้กว้างที่สุดและสอดปืนผ่านเข้าไปโดยสอดเฉียงด้านบน 45 องศา เพื่อป้องกันปลายปืนเข้าไปในรูเปิดของกระเพาะปัสสาวะ เมื่อปืนฉีดน้ำเชื้อผ่านเข้าไปแล้ว ให้สอดต่อไปตามแนวระนาบ จากนั้นใช้มือข้างที่สวมถุงมือล้วงผ่านทวารหนัก ตามปืนฉีดน้ำเชื้อเข้าไป และจับที่คอมดลูก (Cervix) ถ้าขณะสอดปืนผ่านช่องคลอด(Vagina) ปลายปืนมักจะไปติดรอยย่นบางส่วนของช่องคลอดและสอดปืนต่อไปไม่ได้ ให้ใช้มือที่อยู่ในช่องลำไส้ใหญ่ ดึงคอมดลูกให้ยืดออกไปด้านหน้าของตัวโค จะทำให้รอยย่นที่อยู่ในส่วนของช่องคลอดยืดออก ปืนจะสอดผ่านเข้าไปได้ จนถึงหน้าคอมดลูก เมื่อปลายปืนถึงหน้าคอมดลูก ให้ดึงปลายอีกข้างหนึ่งของแซนนิตารี ชีท จนปลายปืนทะลุแซนนิตารี ชีท






8.สอดปืนเข้าไปในคอมดลูก วิธีการสอดปืนผ่านคอมดลูกทำได้โดย ใช้มือข้างที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ จับปลายคอมดลูกไว้โดยจับระหว่างส่วนต่อของคอมดลูก(Cervix) กับช่องคลอด (Vagina) ยกขึ้นให้อยู่ระดับเดียวกับปืนฉีดน้ำเชื้อ จากนั้นใช้หัวแม่มือกดหาส่วนที่เป็นรูเปิดของคอมดลูก ซึ่งจะเป็นช่องทางที่จะสอดปืนผ่านเข้าไปในคอมดลูก เมื่อพบแล้วให้สอดปลายปืนฉีดน้ำเชื้อไปจนชนนิ้วหัวแม่มือ จากนั้นหลบหัวแม่มือออก ปลายปืนจะผ่าน เข้าไปในรูของคอมดลูก



9.เมื่อปืนฉีดน้ำเชื้อผ่านเข้าไปในรู ของคอมดลูกแล้ว เนื่องจากรูของคอมดลูกไม่ตรง มักจะคดไปมาและมีหลืบ ปลายปืนมักจะติดส่วนที่เป็นหลืบภายในโพรงของคอมดลูก ให้ใช้มือข้างที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ค่อย ๆ ขยับหรือดัดคอมดลูก ซ้ายขวา บนล่าง และสวมเข้าในปืน ซึ่งผู้ทำการผสมเทียมจะรู้สึกได้ว่าปลายปืนผ่านเข้าไปในคอมดลูกทีละเปลาะ ๆ ซึ่งต้องค่อย ๆ สอดผ่านไป จนผ่านทะลุคอมดลูก ขณะกำลังสอดปืนผ่านคอมดลูก ผู้สอดปืนจะต้องทราบเสมอว่า ขณะนั้นปลายปืนอยู่ที่ตำแหน่งใด


10.ขณะที่ปลายปืนกำลังจะผ่านทะลุคอ มดลูก ให้สอดปืนอย่างช้า ๆ และระมัดระวัง อย่าให้ปลายปืนเลยเข้าไปถึงตัวมดลูก(Body of Uterus) มากนัก เพราะอาจไปครูดกับผนังตัวมดลูก เมื่อปลายปืนฉีดน้ำเชื้อทะลุคอมดลูกแล้ว ให้สอดปลายปืนเข้าไปอีกประมาณ 1 cm. โดยทำการคลำระหว่างรอยต่อของคอมดลูกกับตัวมดลูกทางด้านล่าง ถ้าพบเพียงปลายปืนฉีดน้ำเชื้อ หมายถึงปลายปืนผ่านทะลุคอมดลูกเข้าไปในตัวมดลูกเป็นระยะ 1 cm.ถูกต้องแล้ว หากคลำรอยต่อระหว่างคอมดลูกและตัวมดลูกพบก้านปืนฉีดน้ำเชื้อ แสดงว่าปลายปืนเข้าลึกเกินไปให้ดึงปืนฉีดน้ำเชื้อถอยออกมาอย่างระมัดระวัง





ปลายปืนผ่านคอมดลูกเข้าตัวมดลูก 1 cm.


11.ทำการบีบก้านปืนฉีดน้ำเชื้อ ประมาณ 2 ใน 3 ของความยาว เพื่อปล่อยน้ำเชื้อ 2 ใน 3 ของหลอดภายในตัวมดลูก ให้ปล่อยน้ำเชื้อช้า ๆ ใช้เวลาปล่อยน้ำเชื้อประมาณ 8 วินาที จากนั้น ถอยปืนออกมาจนปลายปืนอยู่กลางคอมดลูก (Cervix) ปล่อยน้ำเชื้อที่เหลือกลางคอมดลูก (Cervix)

12. ถอดถุงมือแล้วม้วนถุงทิ้งในถังขยะ ล้างรองเท้าบู๊ทและผ้ากันเปื้อนให้สะอาด บันทึกรายละเอียดการผสมเทียมลงในแบบบันทึกต่าง ๆ
  

เวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม

          หลังจากฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่ตัวมดลูก (Body of Uterus) แล้ว อสุจิจะใช้เวลาในการเดินทางไปถึงท่อนำไข่ เป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะเร็ว และลักษณะช้า อสุจิที่เคลื่อนที่ถึงท่อนำไข่ลักษณะเร็ว จะตายทั้งหมดและถูกขับออกทาง fimbria ของท่อนำไข่และตกลงช่องท้อง ส่วนอสุจิที่เคลื่อนที่ถึงท่อนำไข่ลักษณะช้า จะเป็นอสุจิที่เข้าทำการปฏิสนธิ ซึ่งจะเริ่มพบอสุจิที่ยังแข็งแรงพร้อมที่จะทำการปฏิสนธิได้ในท่อนำไข่ส่วน Ampulla ประมาณ 10 ชั่วโมง หลังผสมเทียมและพบมากที่สุดประมาณ 24 ชั่วโมงหลังผสมเทียม



ขณะที่อสุจิเดินทางผ่านมดลูก ผ่านท่อนำไข่ เพื่อเตรียมตัวจะผสมกับไข่ ตัวอสุจิจะพัฒนาตัวเองเกิดปฏิกิริยา Capacitation เพื่อเตรียมพร้อมผสมกับไข่

ไข่ที่ตกลงสู่ท่อนำไข่ จะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ถ้าภายในเวลา 12-24 ชั่วโมง ไข่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิ ไข่ก็จะสลายไปหรือไข่ที่ตกลงมาในท่อนำไข่เป็นเวลานาน จนเป็นไข่แก่เมื่อได้รับการผสมกับอสุจิ ตัวอ่อนมักจะตายในระยะต้น ๆ ดังนั้นเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียมควรเป็นเวลาที่ไข่ตกและไข่จะพบกับตัวอสุจิทันที เนื่องจากเป็นช่วงที่ไข่ยังแข็งแรงและอสุจิก็ยังแข็งแรง

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม คือ ช่วงหลังจากโคที่เป็นสัดเริ่มยืนนิ่งให้ตัวอื่นขี่ ในช่วง 6-20 ชั่วโมง แต่จากการทดลองในประเทศไทยหากผสมในช่วง 12-18 ชั่วโมงหลังจากโคที่เป็นสัดเริ่มยืนนิ่ง จะมีอัตราการผสมติดสูงที่สุด ส่วนในต่างประเทศจะอยู่ในช่วง 10-13 ชั่วโมงหลังจากโคที่เป็นสัดเริ่มยืนนิ่ง

การผสมเทียมให้ตรงกับช่วงเวลาที่เหมาะสมจริง ๆ ในทางปฏิบัติทำได้ยาก ดังนั้น ที่นิยมปฏิบัติและได้ผลมาก คือ หากพบว่าโคเป็นสัดยืนนิ่งตอนเช้า ทำการผสมเทียมตอนเย็น หากแม่โคเป็นสัดยืนนิ่งตอนเย็น ผสมเทียมเช้าวันรุ่งขึ้น



ตำแหน่งที่ฉีดน้ำเชื้อ

       ในการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติพ่อโคจะปล่อยน้ำเชื้อที่ส่วนของช่องคลอด (Vagina) หน้าคอมดลูก (Cervix) แต่ในการผสมเทียม ปริมาณตัวอสุจิที่ใช้จะน้อยกว่าการผสมตามธรรมชาติมาก หากปล่อยน้ำเชื้อที่ตำแหน่งช่องคลอดอาจทำให้ผสมต่ำ

      ในการผสมเทียมตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเชื้อ คือที่ตัวมดลูก (body of uterus) และภายในคอมดลูก(cervix) โดยปล่อยน้ำเชื้อปริมาณ 2 ใน 3 ที่ตัวมดลูก (Body of Uterus) เลยส่วนของ internal os ประมาณ 1 cm. จากนั้นถอยปืนฉีดน้ำเชื้อออกมาให้ปลายปืนอยู่ในคอมดลูกและปล่อยน้ำเชื้อที่เหลืออีก 1 ใน 3 ของหลอดในส่วนของคอมดลูก (Cervix)





ตำแหน่งฉีดน้ำเชื้อ ในตัวมดลูก ในคอมดลูก


จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่


      เมื่อโคนาง ได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วันหากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าผสมติดหรือโคตัวนั้น เริ่มตั้งท้องแล้ว เพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว 50 วันขึ้นไปอาจติดต่อ สัตวแพทย์หรือบุคคลผู้มีความ ชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวารของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น


........ข้อสังเกต ในกรณีโคสาว จะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น กินจุขึ้น ความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้องซี่โครงจะกางออกกว้าง ขึ้น ขนเป็นมัน และไม่เป็นสัดอีก

การคลอดลูก

         โดยทั่วไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในช่วงนี้แม่โคจะได้การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในระยะ
ก่อนคลอดประมาณ 45 - 80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง เพื่อแม่โคจะได้นำไปเสริมสร้างร่างกายส่วนที่สึกหรอ และนำไปเลี้ยงลูก หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่างที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม สำหรับแม่โคที่กำลังให้นม เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไปควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน สำหรับแม่โคท้องแรกหรือท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี) แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม ก่อนคลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้ว อย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผลกระทบกระเทือน นั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้ เช่น ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะอาหารไม่พอ ร่างกายไม่สมบูรณ์



อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด

เราอาจจะสังเกตอาการต่างๆได้ดังนี้
1. เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
2. อวัยวะเพศขยายตัวขึ้น ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามาสังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
3. กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
4. ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง
5. ยกหางขึ้น-ลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว
6. ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
7. แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า อาหาร ยืนกระสับกระส่าย ขกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการเบ่งคลอดตลอดเวลา 



ท่าคลอดปกติของลูกโค 


จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่

           ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค คือ ลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็น เป็น 3 จุด คือ 2 กีบข้างหน้า และจมูก ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ อาทิเช่น หัวพับหรือเอาด้าน หลังออกมาก่อนส่วนอื่น หรือกรณีที่ลูกโคมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้ หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วยทำการคลอด
และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โค ซึ่งต้องรีบทำการรักษา หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้วควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว โดยเฉพาะเมือกบริเวณจมูกปากและลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้วแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน 

































โรงเรือนโค

โรงเรือนโคขุนหรือโรงเรือนเลี้ยงโค ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคสำหรับเป็นที่พักอาศัยของโค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงโคขุนที่จำเป็นต้องเลี้ยงโคในโรงเรือนเพื่อขุนโคให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
โรงเรือนโคขุน
หลักการสร้างโรงเรือนโค
1. สถานที่
– ควรเป็นที่ดอนหรือสถานที่สูงกว่าพื้นที่รอบข้าง มีการระบายน้ำได้ดี หรืออาจต้องถมพื้นที่ให้สูงขึ้นกว่าระดับปกติเพื่อไม่ให้น้ำขังในฤดูฝน
– สถานที่ควรมีทางที่รถบรรทุกสามารถเข้าออกได้ เพื่อความสะดวกในการนำโคเข้าขุน และส่งตลาด
– ความยาวของคอกควรอยู่ในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
– สถานที่สร้างโรงเรือน หากต้องการพื้นที่แปลงหญ้าควรเป็นพื้นที่เดียวกันหรือห่างกัน แต่สามารถนำโคเข้าปล่อยแปลงได้สะดวก
– สถานที่สร้างโรงเรือน รวมถึงพื้นที่ว่างหรือพื้นที่แปลงหญ้า ควรมีพื้นที่สำหรับวางแผนขยายกิจการได้ในอนาคต
2. ขนาดของโรงเรือน
– โรงเรือนอาจสร้างเพียงคอกขังเดี่ยว แต่มีหลายๆ คอกตามจำนวนโค ซึ่งแต่ละคอกควรมีขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร หรืออาจเป็นคอกโล่งขนาดใหญ่เพื่อปล่อยขุนร่วมกัน แต่ต้องมีขนาดโคขุนที่อายุเท่ากัน
– หากต้องการขุนแบบรวมในคอกเดียวกัน พื้นที่คอกควรมีตั้งแต่ 8 ตารางเมตร/ตัว  มีหลังคาคลุมด้านบนประมาณ 1 ใน 3  ส่วนที่เหลือให้เป็นที่โล่งหรือมีต้นไม้ให้ร่มยิ่งดี
– ถ้าพื้นที่น้อย จำนวนโคมีมากจะมีปัญหาพื้นคอกแฉะ โคบียดกัน และแย่งอาหารกัน ทำให้การเติบโตไม่เท่ากัน
– หากสร้างหลังคาคลุมพื้นที่ทั้งหมดจะมีข้อดี คือ ไม่ทำให้พื้นคอกแฉะในฤดูฝน แต่ก็มีข้อเสีย คือ สิ้นเปลืองค่าวัสดุโดยใช่เหตุ และโคอาจไม่ได้รับแสงแดดทำให้ขาดวิตามินดีได้
แบบโรงเลือนโคขุน
3. พื้นคอก
– พื้นคอกโคขุน หากเทคอนกรีตทั้งหมดจะสามารถแก้ปัญหาเรื่องพื้นคอกแฉะ เป็นโคลนในฤดูฝนได้ แต่จะสิ้นเปลืองทุนมาก แต่อาจเทคอนกรีตเฉพาะพื้นคอกส่วนที่อยู่ใต้หลังคา ก็ทำให้ประหยัดเงินทุนได้ ส่วนพื้นคอกส่วนใต้หลังคาที่เป็นดินจะมีปัญหาพื้นเป็นโคลนทั้งฤดูแล้ง และฤดูฝน โดยเฉพาะปริมาณโคที่มีมาก
– พื้นคอนกรีตที่เท ควรหนาประมาณ 7 เซนติเมตร อาจผูกเหล็กเส้นหรือไม่ผูก ก็สามารถรับน้ำหนักโคขุนได้ แต่ต้องอัดพื้นด้านล่างให้แน่น และสม่ำเสมอก่อน
– ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่ หากต้องการให้รถบรรทุกหรือแทรกเตอร์เข้าไปในคอกได้ จำเป็นต้องเทคอนกรีตให้หนาประมาณ 10 เซนติเมตร และต้องผูกเหล็กด้วย
– หากเทคอนกรีต ควรทำพื้นหน้าคอนกรีตให้หยาบ ด้วยการใช้ไม้กวาดมือเสือครูดให้เป็นรอย และพื้นคอกควรลาดเอียงประมาณ 2-4% หรือทำมุมประมาณ 15 องศากับพื้นราบ จากด้านหน้าลงด้านหลังคอก เพื่อให้น้ำล้างคอก และปัสสาวะไหลลงท้ายคอก ส่วนด้านท้ายคอกควรมีร่องน้ำ กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อรวมน้ำให้ไหลไปในทิศทางเดียวกัน และไหลลงจุดพัก หรืออาจให้ไหลลงแปลงหญ้าก็ยิ่งดี
– พื้นคอกที่เป็นคอนกรีตที่เป็นส่วนใต้หลังคา ควรจะปูด้วยวัสดุที่ซับความชื้นได้ดี เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยไม่ให้พื้นลื่น  อีกทั้งมูลโค และวัสดุรองพื้นที่ใช้จะเป็นปุ๋ยหมักได้อย่างดี แต่ควรเปลี่ยนวัสดุรองพื้นคอก 1-2 ครั้ง/เดือนในฤดูฝน และประมาณ 3 เดือน/ครั้งในฤดูแล้ง อัตราการใช้หากเป็นแกลบ 1 ลูกบาศก์เมตร จะปูพื้นคอกได้ประมาณ 10-12 ตารางเมตร  หรือแกลบ 1 กระสอบ ใช้ปูพื้นได้ 2 ตารางเมตร ส่วนพื้นคอกที่เป็นพื้นดินหรือส่วนคอนกรีตที่อยู่นอกหลังคาไม่จำเป็นต้องมีวัสดุรองพื้น
– การปูวัสดุรองพื้นนี้อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ และเงินทุน นอกจากนั้น พื้นคอกที่เป็นดินไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุรองพื้น
– การใช้ซีเมนต์บล็อกเป็นพื้นคอกแทนการเทคอนกรีตจะไม่สามารถทนต่อน้ำหนักโคได้ในระยะยาว
4. หลังคา
– วัสดุใช้ทำหลังคา เช่น กระเบื้อง สังกะสี แฝก หญ้าคาหรือจาก
– หากหลังคามุงด้วยสังกะสี ควรให้ชายล่างสูงจากพื้นดินมากกว่า 2.50เมตร เพื่อทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยเฉพาะในฤดูร้อน
– หากหลังคามุงด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น แฝก หญ้าคาหรือจาก ควรให้ชายล่างสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร และไม่ควรต่ำกว่านี้ เพราะโคอาจกัดกินหลังคาได้
5. เสาคอก
– เสาที่ใช้ เช่น เสาไม้ เสาเหล็กหรือแป๊บน้ำ ที่เป็นเหล็ก มักมีปัญหาเสาเป็นสนิม และหักโคนเสาได้ง่ายเมื่อใช้หลายปี แต่หากต้องการเสาเหล็กให้แก้ไขโดยการหล่อคอนกรีตหุ้มโคนเสา โดยให้สูงจากพื้นประมาณ 30 เซนติเมตร ควรใช้ท่อปล่องส้วมหรือท่อเอสล่อนเป็นปลอกหุ้มด้านนอกอีกชั้น เพื่อป้องกันการกระแทกจากโคขุน
– เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความคงทนดีกว่าเสาทุกชนิด แต่มีปัญหาในการกั้นคอกลำบาก ต้องใช้ไม้ตอกยึดเสาอีกชั้นสำหรับทำคอกกั้น
– เสาไม้มีอายุใช้งานประมาณ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดไม้ที่นำมาใช้ แต่หากนำเสาไม้ที่เป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้กุง ไม้กิก สามารถใช้ได้นานเป็นสิบปี
– การใช้เสาคอนกรีตฝังดิน โดยโผล่ขึ้นมาเล็กน้อยสำหรับต่อด้วยเสาไม้ มักเกิดปัญหาโคนเสาบริเวณรอยต่อหักจากแรงลมหรือจากถูกแรงกระแทกของโค
6. รั้วกั้นคอก
– วัสดุที่ใช้ เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้สน เป็นต้น ซึ่งควรเลือกใช้ไม้ให้ถูกต้อง หากต้องการประหยัดอาจใช้ไม้ไผ่ ไม่ยูคา ไม้สน ซึ่งมีราคาถูก แต่อายุการใช้งานไม่กี่ปี
– รั้วกั้นคอกรอบนอกโดยรอบ ควรกั้นทั้ง 4 แนว แนวบนสุดให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 150 เซนติเมตร ส่วนรั้วคอกย่อยภายในให้กั้นอย่างน้อย 3 แนว
– การกั้นคอกควรให้ไม้อยู่ด้านในของเสา เพื่อให้เสาช่วยรับแรงกระแทกจากโค
– ไม้ที่มีตาไม้หรือสิ่งแหลมคม ให้ตอกออกให้หมดก่อนกั้นคอกหรือปล่อยโคเข้าขุน
7. รางอาหาร
– รางอาหารควรสูงประมาณ 50-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 80-90 เซนติเมตร ซึ่งก่ออิฐบล็อกหรืออิฐมอญ และฉาบปูนให้เรียบ ขอบรางด้านนอกเป็นแนวตรงดิ่ง ไม่เอียงจากพื้น ขอบรางด้านในสำหรับให้โคเข้ากินอาหาร ให้สูงกว่าด้านนอกประมาณ 10-20 เซนติเมตร และขอบของรางทำเป็นแนวโค้งมนไม่มีมุม เจาะรูที่ก้นรางด้านหนึ่งสำหรับน้ำระบายออกได้ ท้องรางลาดเทเล็กน้อยไปทางด้านรูระบายน้ำ
– รางอาหารที่แคบจะมีปัญหาอาหารตกหล่นมาก ขณะที่โคเคี้ยวอาหารหรือเข้าแย่งอาหารสำหรับคอกรวม
– การทำรางอาหารต่ำมากเกินไป ทำให้โคก้มมากขณะกินอาหาร ทำให้กลืนอาหารลำบาก แต่หากสูงเกินไปจะมีปัญหาสำหรับโคเล็ก
– โคขุน 1 ตัว ต้องการความยาวของรางอาหารประมาณ 50 เซนติเมตร และประมาณ 65 เซนติเมตร หากโคมีขนาดใหญ่
โคขุน1
8. อ่างน้ำ
– อ่างน้ำควรอยู่ในมุมใกล้กับรางอาหาร และให้อยู่จุดต่ำสุดของคอก  แต่อาจวางอยู่นอกคอกก็ได้ แต่ต้องทำช่องให้โคโผล่หัวออกไปดื่มน้ำได้
– ขนาดอ่างน้ำควรสูงประมาณ 60 เซนติเมตร กว้าง 80 เซนติเมตร และยาว 90 เซนติเมตร ก่อด้วยอิฐ ฉาบปูนให้เรียบ และให้มีรูระบายน้ำด้านล่าง เพื่อทำความสะอาด  โค 1 ตัว ดื่มน้ำประมาณวันละ 20-30 ลิตร แต่โคขุนที่กินหญ้าสดหรือเปลือกสับปะรด ต้องการกินน้ำร้อยละ 5 ต่อวัน ของน้ำหนักตัว ส่วนโคขุนที่กินฟางหรือหญ้าแห้ง ต้องการน้ำประมาณร้อยละ 10 ต่อวัน ของน้ำหนักตัว
9. มุ้ง
พื้นที่ที่มียุงหรือแมลงวันรบกวน โดยเฉพาะในฤดูฝน มุ้งจะมีความจำเป็นมาก ซึ่งจะช่วยในหลายด้าน คือ
– ป้องกันการถูกดูดกินเลือดจากยุง และแมลงต่างๆ
– ป้องกันแมลงตอมตา เพื่อไม่ให้เกิดตาอักเสบ และพยาธิในตา
– ลดการหกหล่นของอาหารจากการรบกวนของแมลง เนื่องจากหากมีแมลงรบกวนมาก โคจะแกว่งศีรษะไล่แมลงขณะกินอาหาร ซึ่งจะทำให้อาหารหกหล่น
– มุ้งที่ใช้อาจเป็นผ้าไนล่อน ผ้าสเลน เบอร์ 20 หรือต่ำกว่านี้ก็ได้ แต่ราคาจะแพงขึ้น และทำให้การระบายอากาศไม่ดีนัก

โคไทยพื้นเมือง

ความสำคัญของโคไทยพื้นเมือง


                โคไทยพื้นเมือง ได้มีการเลี้ยงดูมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดในสายพันธุ์ดั้งเดิมและประวัติความเป็นมาในอดีต โคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองแท้ๆจะอยู่ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนทางภาคเหนือและภาคใต้โคพื้นเมืองบางส่วนจะมีรูปต่างแตกต่างกันออกไป เพราะมีสายเลือดโคอื่น โดยเฉพาะโคอินเดียวผสมปนเปไปบ้างแล้ว จึงมีโครงสร้างใหญ่ โดยเฉพาะพ่อโคบางตัวอาจะมีน้ำหนักตัวสูงถึง 480 กิโลกรัม โคพื้นเมืองจัดอยู่ในกลุ่มโคอินเดีย Bos indicus มีขนาดค่อนข่างเล็ก มีขนสั้นเกรียน โดยทั่วไปมีลำตัวสีน้ำตาลแกมแดง แต่อาจมีสีแตกต่างกันหลายสี เช่น ดำ แดง น้ำตาล ขาว เหลือง เป็นต้น หน้ายาวบอบบาง หน้าผากแคบ ตะโหนก (hump) เล็ก เหนียงคอ (dewlap) และหนังใต้ท้องไม่มากนัก ใบหูเล็ก นิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่ายรักฝูง จดจำฝูงได้ดี มีความแข็งแรงทนทาน และอดทนมาก จึงเป็นโคสำหรับใช้งานโดยแท้จริง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมอากาศร้อนชื้น โรคพยาธิและแมลงได้ดี มีความสามารถใช้อาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำ แต่มีลักษณะด้อย คือ การเจริญเติบโตต่ำ

        โคพื้นเมือง เป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็ก ทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง หากินเก่ง ให้ลูกดก สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง การเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรรายย่อยนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการนำโคสายเลือดยุโรปมาผสมพันธุ์ และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น ได้คุณภาพเนื้อและราคาที่ดีกว่า ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงมีปริมาณลดลง
เนื่องจาก นโยบายการเลี้ยงโคที่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้เน้นการผลิตเพื่อบริโภคและทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยง โคพันธุ์ต่างประเทศทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมจนทำให้โคพื้นเมืองไม่ได้รับความเอาใจใส่ในด้านการเลี้ยงดู การปรับปรุงพันธุ์และขาดการอนุรักษ์พันธุ์อย่างจริงจัง ทำให้โคพื้นเมืองซึ่งสามารถเจริญเติบโตและขยาย พันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรถูกละเลยไป ทั้งๆที่โคพื้นเมืองมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสมกับ สภาพการเลี้ยงดูของเกษตรกรและสภาพท้องถิ่นมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมานับ พันๆ ปี ให้ลูกดกในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงง่ายโดยปล่อยให้หากินตามทุ่งหญ้าสาธารณะ ตามป่าละเมาะไล่ต้อนตามป่าเขาสามารถใช้เศษเหลือจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก นอกจากนี้ยังใช้ ต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำกว่าโคพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

พันธุ์โคพื้นเมืองในประเทศไทย

         โคพื้นเมืองของไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bos Taurus L. มีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย

แบ่งออกตามลักษณะรูปร่างภายนอกและวัตถุประสงค์การเลี้ยงได้ 4 สายพันธุ์ คือ

1. โคพื้นเมืองโคอีสาน


                               

                                                                      โ คอีสาน

ลักษณะประจำพันธู์สัตว์: 

ลำตัวสีน้ำตาลแกมแดง อาจมีสีแตกต่างกัน เช่น ดำ แดง น้ำตาล เหลือง ขาว เป็นต้น หน้ายาวบอบบาง หน้าผากแคบ ตะโหนกเล็ก เหนียงคอและหนังท้องมีไม่มาก ไม่มีเหนียงสะดือ รูปร่างเล็ก


            ถิ่นกำเนิดและแหล่งที่เลี้ยง: - โคพื้นเมืองภาคอีสานเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่วิถีชีวิตของชาวชนบทมาเป็นเวลานานซึ่งได้ใช้แรงงานในภาคการเกษตร เป็นพาหนะเดินทาง มูลใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินและเลี้ยงไว้จำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้
แก่ครอบครัวจากอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรในภาคอีสานได้ใช้แม่โคพื้นเมืองเป็นแม่พื้นฐานในการผลิต
โคเนื้อลูกผสมโดยการนำไปผสมข้ามกับโคสายพันธุ์ อื่นๆ เช่น โคบราห์มัน โคชาร์โรเลส์ โคซิมเมนทอลฯลฯ    แต่ในปัจจุบันยังขาดแผนการเก็บรักษาและอนุรักษ์สายพันธุ์ โคพื้นเมืองที่ดี ทำให้แม่โคพื้นเมืองสายพันธุ์แท้   ดั้งเดิมมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาโคพื้นเมือง     ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ดีสายพันธุ์อื่นๆที่มีการเลี้ยงโดยทั่วไปใน
ภาคอีสานทุกหวัด

ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ:


น้ำหนักแรกเกิด

15 - 17

กิโลกรัม


น้ำหนักหย่านมเฉลี่ย (อายุ 200 วัน)

78

กิโลกรัม


น้ำหนักเพศผู้เมื่อโตเต็มที่

350 - 450

กิโลกรัม


น้ำหนักเพศเมียเมื่อโตเต็มที่

230 - 260

กิโลกรัม


อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก

33

เดือน


ระยะการอุ้มท้อง

270 - 275

วัน


ช่วงห่างการให้ลูก

365 - 380

วัน

การนำไปใช้ประโยชน์:

- เพื่อบริโภคเนื้อ- เป็นรายได้หลักหรือรายได้เสริมจากการทำการเกษตรอื่นๆ
- เพื่อสร้างอาชีพเสริม


2. โคพื้นเมืองภาคเหนือ (ขาวลำพูน)






ลักษณะประจำพันธุ์

        เขาและกีบเท้า มีสีน้ำตาลส้ม ขอบตา และเนื้อจมูก มีสีชมพูส้ม ขนพู่หา สีขาวไม่มีเหนียงสะดือ ขนาดเหนียงปานกลางไม่พับย่นมาก เหมือนกับโคบราห์มัน น้ำหนักแรกเกิด 18 กก. น้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 122 กก. น้ำหนักโตเต็มที่เพศผู้ 350-450 กก. เพศเมีย 300-350 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 2.5 ปี ระยะการอุ้มท้อง 290-295 วัน ช่วงห่างการให้ลูก 460 วัน
โคขาวลำพูน

          การกระจายของประชากร โคขาวลำพูนเป็นโคพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์หนึ่ง ประวัติความเป็นมาอย่างไรไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด กลุ่มคนบางคนเล่าว่า เกิดจากการกลายพันธุ์ของโคพื้นเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เป็นสัตว์คู่บารมีของชนชั้นปกครองสมัยนั้น จากการออกสำรวจของเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกี่ยวกับข้อมูลของโคขาวลำพูน โดยออกเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า "โคขาวลำพูนได้พบเห็นมาช้านานแล้วอย่างน้อยก็ 70 -80 ปี และจะพบเห็นมากที่สุดในเขตพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เท่านั้น" เกษตรกรบางท่านเล่าว่า "ชาวเมืองลำพูนนิยมใช้โคขาวลำพูนลากเกวียน เพราะจะทำให้มีสง่า ราศีดี เนื่องจากเป็นโคที่มีลักษณะใหญ่และมีสีขาวปลอดทั้งตัว ใครที่มีโคขาวลำพูนเทียมเกวียนในสมัยก่อนเปรียบได้กับการมีรถเบนซ์ไว้ขับในสมัยนี้นั่นเอง และเนื่องจากมีต้นกำเนิดที่จังหวัดลำพูน จึงเรียกโคพันธุ์นี้ว่า "โคขาวลำพูน" จากคุณสมบัติที่มีลักษณะเด่นและเป็นลักษณะเฉพาะพันธุ์ โคขาวลำพูนจึงได้รับการคัดเลือกเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

การเลือกโคทีใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะเรียกว่า (พระโคแรกนา)

        พระโคในพระราชพิธีแรกนาขวัญ ด้วยท่วงท่าที่ดูสง่างาม ไม่แสดงอาการตื่นตระหนกเมื่อต้องเผชิญกับผู้คนแปลกหน้าคนแล้วคนเล่า รูปร่างที่สมบูรณ์ ผิวพรรณสะอาดหมดจด สมกับเป็นพระโคแรกนาขวัญ โคที่ใช้ประกอบในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนมากจะเป็นโคพันธุ์ขาว ลำพูน เพราะได้รับการยอมรับว่าเป็นโคที่มีลักษณะดีตรงตามตำรา เช่น ขนสวยเป็นมัน เขาโค้งงามสีน้ำตาลส้ม ขนตา ขอบตา ผิว หาง จะเป็นสีขาว สูงไม่ต่ำ กว่า 150 ซม. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 700 กก. มีอายุประมาณ 5-6 ปี และยังไม่ได้ทำหมัน เพราะจะไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ คำบอกเล่าของ มานิต ปลัดสิงห์ เจ้าหน้าที่ดูแลและฝึกซ้อมพระโค ที่ศูนย์วิจัยผสมเทียมฯ สิ่งสำคัญในการคัดเลือกพระโค คือ ลักษณะขวัญ ซึ่งมี 5 จุดที่สำคัญ จุดแรก คือ ขวัญที่หน้าผาก ต่อมาเป็น ขวัญที่โคนหู 2 ข้าง เรียกว่า ขวัญทัดดอกไม้ ส่วน ขวัญที่หลังตรง ที่ใช้สะพายทับ เรียกว่า ขวัญสะพายทับ อีกขวัญหนึ่งจะอยู่ที่ กลางหลัง เรียกว่า ขวัญจักรกะ จะเป็นขวัญที่ค่อนมาทางหัวไม่ไปทางด้านท้ายลำตัว เพราะถ้าไปทางท้าย จะเรียกว่า ปัดตก ซึ่งเป็นลักษณะขวัญที่ไม่ดีเมื่อคัดเลือกพระโคแล้ว จะมีการรีดน้ำเชื้อเก็บไว้ เพื่อนำน้ำเชื้อไปผสมพันธุ์ต่อไป จากนั้นจะทำหมัน เพื่อช่วยลดความก้าวร้าว ดื้อ ไม่เชื่อฟังลง เพราะธรรมชาติของโควัยหนุ่มจะไม่ค่อยยอมทำตามคำสั่งหลังจากนั้นจะเข้าสู่การ ฝึกซ้อม ในการฝึกไถจะนำพระโคที่มีอายุมากมาประกบหนึ่งต่อหนึ่ง ให้ไถให้ลากไปด้วยกัน ให้พี่สอนน้อง เมื่อสอนได้แล้ว จะจับแยกคู่ โดยจะให้ประกบคู่ของตนเองและซ้อมไถวันละ 20 รอบ ในปีนี้ พระโคเทิดกับพระโคทูน เคยปฏิบัติหน้าที่เป็นพระโคตัวจริงมาแล้ว จึงให้เป็นพี่เลี้ยงสอนพระโคใสกับพระโคฟ้าที่เป็นพระโคสำรอง
มื่อฝึกได้ 3 ปี จะได้เป็นพระโคสำรอง มาระยะหลังประมาณ 2 ปี จะได้เป็นพระโคตัวจริง เพราะพระโคในปัจจุบันหายาก 3-4 ปี ที่ผ่านมา ไม่พบที่ตรงตามตำราเลยการกิน การนอน การออกกำลังกายของพระโคไม่ได้พิเศษไปกว่าโคทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่การอาบน้ำ โดยพระโคจะอาบน้ำทุกวัน เพื่อช่วยลดกลิ่นเหงื่อ กลิ่นไคล กลิ่นที่จะล่อแมลง ซึ่งจะทำให้แมลงรบกวนน้อยลง ความอับ ความชื้นจะไม่ค่อยมี ทำให้พระโคสบายตัวขึ้นพระโคจะฝึกซ้อมก่อนถึงวันพระราชพิธีประมาณ 2 เดือน จากนั้นจะนำพระโคมาอยู่ที่ท้องสนามประมาณ 10 วัน ก่อนถึงวันจริง โดยรถบรรทุก 6 ล้อ คู่ละคัน เพื่อเป็นการสร้างความเคยชิน ให้พระโคปรับสภาพ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เพราะ ถ้านำพระโคมาใกล้วันจริงเร็วเกินไป พระโคมีเวลาปรับตัวน้อย อาจเกิดปัญหาได้พระ ราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไทยมีกำลังใจในการประกอบอาชีพทางด้าน เกษตรกรรมในแต่ละปี พระโคกินของเสี่ยงทายทั้ง 7 อย่าง เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยแนะแนวทาง เพื่อแก้ไข ตั้งรับ หรือสร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพ แต่ต้องควบคู่ไปกับการดูแลเอาใส่ใจของเจ้าหน้าที่และประชาชนทุกคนร่วมด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้วัวหายแล้วล้อมคอก

-มีผิวสีขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำ หรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว ลำเขาเป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวงสีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า

3. โคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน)

            การกระจายของประชากร นิยมเลี้ยงกันมากทางภาคใต้ ซึ่งจากการที่คนภาคใต้ประกอบอาชีพทำนา เมื่อหลังฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมีนาคม –เมษายน ชาวนาจะปล่อยโคออกหากินตามท้องทุ่งเป็นฝูงใหญ่ โคจากในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านมีโอกาสได้พบกัน ประกอบกับช่วงฤดูผสมพันธุ์โคตัวผู้จึงชนกันแย่งชิงเป็นจ่าฝูง เพื่อจะได้ยึดครองโคตัวเมีย ชาวบ้านจึงเห็นลีลาการชนของโคบางตัว เกิดความรู้สึกพอใจ ประทับใจ และคัดเลือกไว้เป็นโคขุน แต่โดยสว่นใหญ่ในปัจจุบันทางภาคใต้มักจะนำโมาชนกันซึ่งโคขุนจะต้องเป็นโคตัวผู้ที่มีลักษณะดี มีอายุประมาณ 4-6 ปี ต้องมีสายพันธุ์เป็นโคชนโดยเฉพาะ ผ่านการเลี้ยงดูให้ร่างกายแข็งแรงและฝึกชนบ่อยๆ จนกลายเป็นโคชนที่มีคุณสมบัติเด่นเฉพาะ เช่น แข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบในการชน และทรหดอดทนเป็นพิเศษ เป็นต้น โคชนมีมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสงขลา




                                                     โคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน)


ลักษณะประจำพันธุ์

มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน ดำ และด่าง ไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 15 กก. น้ำหนักหย่านม เมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 88 กก. น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 280 - 320 กก.เพศเมีย 230 - 280 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270 - 275 วัน

ลักษณะของวัวชน

      วัวที่จะใช้ชนนั้นจะต้องเป็นพันธุ์วัวชนโดยเฉพาะ วัวใช้งานธรรมดาจะนำมาเป็นวัวชนไม่ได้ ลักษณะของวัวชนที่ดีจะต้องมีใจทรหดอดทน มีไหวพริบในการชนดี และมีลักษณะอื่นๆ ที่ดีอีกหลายอย่างเท่าที่มีผู้กล่าวไว้ถ้าประมวลมาเฉพาะที่สำคัญก็จะได้ดัง นี้

1.ลักษณะ ทั่วๆ ไป จะต้องมีรูปร่างประเปรียว ช่วงตัวยาว ท้องกิ่ว ลำตัวค่อนข้างหนา หลังหนาแบน คอสั้นหนาใหญ่ ช่วงขาสั้นและล่ำสัน คิ้วหนา ตาเล็ก สีตาดำ ใบหูเล็ก โหนกสูงใหญ่ (ภาคใต้เรียกว่าหนอก) มีขวัญที่ใต้โหนกและกลางหลังเยื้องไปทางด้านหน้าเหนียงคอ(ภาษาใต้เรียกว่า แร้ง)หย่อนยาน

2.ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ที่นำมากล่าวนี้เป็นลักษณะที่เชื่อกันว่าเป็นวัวชนชนิดดีซึ่งจะเลือกกล่าวเพียงบางชนิดเท่านั้น 

3. ลักษณะดีตามสีตัว วัวทางภาคใต้มีสีต่างกันถึง 7 สี แต่สีที่สำคัญคือ ขาวปลอด, ดำนิล, แดง , ลาย (คือดำแซมขาว), ลังสาด (คือคอดำ หัวดำ ท้ายดำ ตรงกลางขาว) สีของวัวนี้ นอกจากจะบอกลักษณะดีชั่ว แล้วยังใช้เป็นชื่อเรียกวัวอีกด้วย เช่นวัวสีขาวเรียกอ้ายขาว สีดำเรียกอ้ายดำ เป็นต้น


3. โคพื้นเมืองภาคกลาง

        



                                                โคพื้นเมืองภาคกลาง (โคลาน)

    ลักษณะประจำพันธุ์ นิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่าย ลำตัวยาวบาง มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ ดำ และด่างไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 14 กก. น้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 200 วัน เฉลี่ย 78 กก. น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 280-300 กก. เพศเมีย 200-260 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270-275 วัน

การกระจายของประชากร นิยมเลี้ยงกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และสุพรรณบรี จากการที่เกษตรกรในจังหวัดดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เพื่อเพราะปลูกเสร็จแล้ว พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวการเกษตรจะนำข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมาวางเรียงวนในลักษณะวงกลม มีเสาไม้เป็นจุดศูนย์กลางสำหรับผูกโคราว (คาน) โดยใช้วิธีขอแรงานจากโค ของเพื่อนบ้านมาช่วย ซึ่งจะผูกโคเรียงเป็นแถวรายตัวให้พอเพียงกับข้าวที่ตั้งกองรายล้อมไว้ จากนั้นไล่โควิ่งวนเวียนรอบๆ เสาไม้ที่ปักไว้จนกว่าเมล็ดข้าวจะร่วงหล่นจากรวง เกษตรกรจะช่วยกันเก็บฟางออกจนหมดให้เหลือเฉพาะเมล็ดข้าวเปลือก หลังจากเสร็จสิ้นการเก็บข้าวแล้ว เกษตรกรจะมีเวลาว่างในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จึงได้มีผู้คิดนำวิธีการนี้มาใช้และเพิ่มจำนวนโคที่วิ่งได้มากขึ้น นิยมจัดการแข่งขันในบริเวณวัด ต่อมาเริ่มจัดการแข่งขันนอกวัด จากเริ่มแรกเพื่อความสนุกสนาน และต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการแข่งขันเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. 2500 จึงได้ริเริ่มเดิมพันการแข่งขันวิ่งวัวลานกันขึ้น

โคลาน


            วัวลาน หรือ วัวระดอก เป็น การละเล่นพื้นบ้านในภาคกลางของไทย โดยใช้วัวพันธุ์ไทย มักจะเล่นในเวลากลางคืน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ทำงานในตอนกลางวัน การเล่นวัวลานใช้วัวที่มีอายุประมาณ 5-9 ปี วัวแต่ละตัวจะมีเครื่องประดับวัวที่สวยงาม สำหรับสถานที่เล่นวัวลานนั้น นิยมเล่นกันในผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนาหรือที่บริเวณกว้างและเรียบ

การเลือพันธ์โคลาน

            วัวพันธุ์ไทย คือ วัวที่มีพื้นเพกำเนิดในประเทศไทย เลี้ยงกันทั่วไปในภาคต่าง ๆ วัวไทยมีกระดูกเล็บบอบบาง วัวไทยมีขนสั้นเกรียนทั่วตัว ขนมีสีต่าง ๆ ตั้งแต่สีดำ สีน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีฟาง ในหน้ายาวหน้าผากแคบ ตาขนาดปานกลาง ขนตามใบหน้าสั้นเกรียน จมูกแคบ ใบหูเล็กกะทัดรัด ปลายหูเรียวแหลมโดยทั่วไปมีเขาสั้นถึงยาวปานกลาง ตั้งแต่ ๑๕-๔๕ เซนติเมตร ตัวเมียมักมีเขาสั้นหรือไม่มีเขา เขามีลักษณะตั้งขึ้นโง้งงุ้มเข้าหากัน และยื่นไปข้าหน้าเล็กน้อย ลำคอบอบบาง ใต้คอมีเหนียงคอเป็นแถบลงไปถึงอก ส่วนต่อระหว่างคอและไหล่มองเห็นได้ชัด เหนือไหล่ของวัวตัวผู้มีก้อนเนื้อ เรียกว่า โหนกหรือหนอก สันหลังลาดขึ้นจากโหนกไปสู่บั้นเอว แล้วลากลงตามบั้นท้ายไปสู่โคนหาง ขายาว วัวไทยมีนิสัยขี้ตื่น ปราดเปรียวกว่าวัวพันธุ์อื่น

การเตรียมความพร้อมของโค

         เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอวมารวมกันแล้วต้อนขึ้นรถยนต์ ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่   เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"

 สถานที่เล่นวัวลาน

     สถานที่เล่นวัวลาน คือ ผืนนาที่ร้าง ไม่มีการทำนา หรือลานที่ว่างโล่ง เนื้อที่ประมาณ 350 – 400 เมตร จุดศูนย์กลางที่ให้วัววิ่งจะมีเสา ซึ่งเป็นหลักให้วัววิ่ง เรียกว่า "เสาเกียรติ"

ข้อดีของโคพื้นเมือง

เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหาร เพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยงแบบไล่ต้อน โดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มีอย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี
ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
ใช้แรงงานได้ดี
แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน โคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือโคกบินทร์บุรี
มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารไทย
สามารถใช้งานได้

ข้อเสีย

เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือที่น้ำหนักมีชีวิต 450 กก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โรเล่ส์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการคลอดยาก