วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โคไทยพื้นเมือง

ความสำคัญของโคไทยพื้นเมือง


                โคไทยพื้นเมือง ได้มีการเลี้ยงดูมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดในสายพันธุ์ดั้งเดิมและประวัติความเป็นมาในอดีต โคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองแท้ๆจะอยู่ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนทางภาคเหนือและภาคใต้โคพื้นเมืองบางส่วนจะมีรูปต่างแตกต่างกันออกไป เพราะมีสายเลือดโคอื่น โดยเฉพาะโคอินเดียวผสมปนเปไปบ้างแล้ว จึงมีโครงสร้างใหญ่ โดยเฉพาะพ่อโคบางตัวอาจะมีน้ำหนักตัวสูงถึง 480 กิโลกรัม โคพื้นเมืองจัดอยู่ในกลุ่มโคอินเดีย Bos indicus มีขนาดค่อนข่างเล็ก มีขนสั้นเกรียน โดยทั่วไปมีลำตัวสีน้ำตาลแกมแดง แต่อาจมีสีแตกต่างกันหลายสี เช่น ดำ แดง น้ำตาล ขาว เหลือง เป็นต้น หน้ายาวบอบบาง หน้าผากแคบ ตะโหนก (hump) เล็ก เหนียงคอ (dewlap) และหนังใต้ท้องไม่มากนัก ใบหูเล็ก นิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่ายรักฝูง จดจำฝูงได้ดี มีความแข็งแรงทนทาน และอดทนมาก จึงเป็นโคสำหรับใช้งานโดยแท้จริง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมอากาศร้อนชื้น โรคพยาธิและแมลงได้ดี มีความสามารถใช้อาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำ แต่มีลักษณะด้อย คือ การเจริญเติบโตต่ำ

        โคพื้นเมือง เป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็ก ทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง หากินเก่ง ให้ลูกดก สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง การเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรรายย่อยนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการนำโคสายเลือดยุโรปมาผสมพันธุ์ และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น ได้คุณภาพเนื้อและราคาที่ดีกว่า ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงมีปริมาณลดลง
เนื่องจาก นโยบายการเลี้ยงโคที่รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา ได้เน้นการผลิตเพื่อบริโภคและทดแทนการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรหันมาเลี้ยง โคพันธุ์ต่างประเทศทั้งพันธุ์แท้และลูกผสมจนทำให้โคพื้นเมืองไม่ได้รับความเอาใจใส่ในด้านการเลี้ยงดู การปรับปรุงพันธุ์และขาดการอนุรักษ์พันธุ์อย่างจริงจัง ทำให้โคพื้นเมืองซึ่งสามารถเจริญเติบโตและขยาย พันธุ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรถูกละเลยไป ทั้งๆที่โคพื้นเมืองมีคุณลักษณะที่โดดเด่นเหมาะสมกับ สภาพการเลี้ยงดูของเกษตรกรและสภาพท้องถิ่นมีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมมานับ พันๆ ปี ให้ลูกดกในสภาพแวดล้อมของเกษตรกรรายย่อย เลี้ยงง่ายโดยปล่อยให้หากินตามทุ่งหญ้าสาธารณะ ตามป่าละเมาะไล่ต้อนตามป่าเขาสามารถใช้เศษเหลือจากผลผลิตทางการเกษตรเป็นหลัก นอกจากนี้ยังใช้ ต้นทุนในการเลี้ยงดูต่ำกว่าโคพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ

พันธุ์โคพื้นเมืองในประเทศไทย

         โคพื้นเมืองของไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Bos Taurus L. มีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย

แบ่งออกตามลักษณะรูปร่างภายนอกและวัตถุประสงค์การเลี้ยงได้ 4 สายพันธุ์ คือ

1. โคพื้นเมืองโคอีสาน


                               

                                                                      โ คอีสาน

ลักษณะประจำพันธู์สัตว์: 

ลำตัวสีน้ำตาลแกมแดง อาจมีสีแตกต่างกัน เช่น ดำ แดง น้ำตาล เหลือง ขาว เป็นต้น หน้ายาวบอบบาง หน้าผากแคบ ตะโหนกเล็ก เหนียงคอและหนังท้องมีไม่มาก ไม่มีเหนียงสะดือ รูปร่างเล็ก


            ถิ่นกำเนิดและแหล่งที่เลี้ยง: - โคพื้นเมืองภาคอีสานเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่วิถีชีวิตของชาวชนบทมาเป็นเวลานานซึ่งได้ใช้แรงงานในภาคการเกษตร เป็นพาหนะเดินทาง มูลใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินและเลี้ยงไว้จำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้
แก่ครอบครัวจากอดีตที่ผ่านมา เกษตรกรในภาคอีสานได้ใช้แม่โคพื้นเมืองเป็นแม่พื้นฐานในการผลิต
โคเนื้อลูกผสมโดยการนำไปผสมข้ามกับโคสายพันธุ์ อื่นๆ เช่น โคบราห์มัน โคชาร์โรเลส์ โคซิมเมนทอลฯลฯ    แต่ในปัจจุบันยังขาดแผนการเก็บรักษาและอนุรักษ์สายพันธุ์ โคพื้นเมืองที่ดี ทำให้แม่โคพื้นเมืองสายพันธุ์แท้   ดั้งเดิมมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาโคพื้นเมือง     ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนควบคู่กับการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ดีสายพันธุ์อื่นๆที่มีการเลี้ยงโดยทั่วไปใน
ภาคอีสานทุกหวัด

ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ:


น้ำหนักแรกเกิด

15 - 17

กิโลกรัม


น้ำหนักหย่านมเฉลี่ย (อายุ 200 วัน)

78

กิโลกรัม


น้ำหนักเพศผู้เมื่อโตเต็มที่

350 - 450

กิโลกรัม


น้ำหนักเพศเมียเมื่อโตเต็มที่

230 - 260

กิโลกรัม


อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก

33

เดือน


ระยะการอุ้มท้อง

270 - 275

วัน


ช่วงห่างการให้ลูก

365 - 380

วัน

การนำไปใช้ประโยชน์:

- เพื่อบริโภคเนื้อ- เป็นรายได้หลักหรือรายได้เสริมจากการทำการเกษตรอื่นๆ
- เพื่อสร้างอาชีพเสริม


2. โคพื้นเมืองภาคเหนือ (ขาวลำพูน)






ลักษณะประจำพันธุ์

        เขาและกีบเท้า มีสีน้ำตาลส้ม ขอบตา และเนื้อจมูก มีสีชมพูส้ม ขนพู่หา สีขาวไม่มีเหนียงสะดือ ขนาดเหนียงปานกลางไม่พับย่นมาก เหมือนกับโคบราห์มัน น้ำหนักแรกเกิด 18 กก. น้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 122 กก. น้ำหนักโตเต็มที่เพศผู้ 350-450 กก. เพศเมีย 300-350 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 2.5 ปี ระยะการอุ้มท้อง 290-295 วัน ช่วงห่างการให้ลูก 460 วัน
โคขาวลำพูน

          การกระจายของประชากร โคขาวลำพูนเป็นโคพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์หนึ่ง ประวัติความเป็นมาอย่างไรไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด กลุ่มคนบางคนเล่าว่า เกิดจากการกลายพันธุ์ของโคพื้นเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เป็นสัตว์คู่บารมีของชนชั้นปกครองสมัยนั้น จากการออกสำรวจของเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกี่ยวกับข้อมูลของโคขาวลำพูน โดยออกเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันว่า "โคขาวลำพูนได้พบเห็นมาช้านานแล้วอย่างน้อยก็ 70 -80 ปี และจะพบเห็นมากที่สุดในเขตพื้นที่ของจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เท่านั้น" เกษตรกรบางท่านเล่าว่า "ชาวเมืองลำพูนนิยมใช้โคขาวลำพูนลากเกวียน เพราะจะทำให้มีสง่า ราศีดี เนื่องจากเป็นโคที่มีลักษณะใหญ่และมีสีขาวปลอดทั้งตัว ใครที่มีโคขาวลำพูนเทียมเกวียนในสมัยก่อนเปรียบได้กับการมีรถเบนซ์ไว้ขับในสมัยนี้นั่นเอง และเนื่องจากมีต้นกำเนิดที่จังหวัดลำพูน จึงเรียกโคพันธุ์นี้ว่า "โคขาวลำพูน" จากคุณสมบัติที่มีลักษณะเด่นและเป็นลักษณะเฉพาะพันธุ์ โคขาวลำพูนจึงได้รับการคัดเลือกเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

การเลือกโคทีใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จะเรียกว่า (พระโคแรกนา)

        พระโคในพระราชพิธีแรกนาขวัญ ด้วยท่วงท่าที่ดูสง่างาม ไม่แสดงอาการตื่นตระหนกเมื่อต้องเผชิญกับผู้คนแปลกหน้าคนแล้วคนเล่า รูปร่างที่สมบูรณ์ ผิวพรรณสะอาดหมดจด สมกับเป็นพระโคแรกนาขวัญ โคที่ใช้ประกอบในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนมากจะเป็นโคพันธุ์ขาว ลำพูน เพราะได้รับการยอมรับว่าเป็นโคที่มีลักษณะดีตรงตามตำรา เช่น ขนสวยเป็นมัน เขาโค้งงามสีน้ำตาลส้ม ขนตา ขอบตา ผิว หาง จะเป็นสีขาว สูงไม่ต่ำ กว่า 150 ซม. น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 700 กก. มีอายุประมาณ 5-6 ปี และยังไม่ได้ทำหมัน เพราะจะไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ คำบอกเล่าของ มานิต ปลัดสิงห์ เจ้าหน้าที่ดูแลและฝึกซ้อมพระโค ที่ศูนย์วิจัยผสมเทียมฯ สิ่งสำคัญในการคัดเลือกพระโค คือ ลักษณะขวัญ ซึ่งมี 5 จุดที่สำคัญ จุดแรก คือ ขวัญที่หน้าผาก ต่อมาเป็น ขวัญที่โคนหู 2 ข้าง เรียกว่า ขวัญทัดดอกไม้ ส่วน ขวัญที่หลังตรง ที่ใช้สะพายทับ เรียกว่า ขวัญสะพายทับ อีกขวัญหนึ่งจะอยู่ที่ กลางหลัง เรียกว่า ขวัญจักรกะ จะเป็นขวัญที่ค่อนมาทางหัวไม่ไปทางด้านท้ายลำตัว เพราะถ้าไปทางท้าย จะเรียกว่า ปัดตก ซึ่งเป็นลักษณะขวัญที่ไม่ดีเมื่อคัดเลือกพระโคแล้ว จะมีการรีดน้ำเชื้อเก็บไว้ เพื่อนำน้ำเชื้อไปผสมพันธุ์ต่อไป จากนั้นจะทำหมัน เพื่อช่วยลดความก้าวร้าว ดื้อ ไม่เชื่อฟังลง เพราะธรรมชาติของโควัยหนุ่มจะไม่ค่อยยอมทำตามคำสั่งหลังจากนั้นจะเข้าสู่การ ฝึกซ้อม ในการฝึกไถจะนำพระโคที่มีอายุมากมาประกบหนึ่งต่อหนึ่ง ให้ไถให้ลากไปด้วยกัน ให้พี่สอนน้อง เมื่อสอนได้แล้ว จะจับแยกคู่ โดยจะให้ประกบคู่ของตนเองและซ้อมไถวันละ 20 รอบ ในปีนี้ พระโคเทิดกับพระโคทูน เคยปฏิบัติหน้าที่เป็นพระโคตัวจริงมาแล้ว จึงให้เป็นพี่เลี้ยงสอนพระโคใสกับพระโคฟ้าที่เป็นพระโคสำรอง
มื่อฝึกได้ 3 ปี จะได้เป็นพระโคสำรอง มาระยะหลังประมาณ 2 ปี จะได้เป็นพระโคตัวจริง เพราะพระโคในปัจจุบันหายาก 3-4 ปี ที่ผ่านมา ไม่พบที่ตรงตามตำราเลยการกิน การนอน การออกกำลังกายของพระโคไม่ได้พิเศษไปกว่าโคทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่การอาบน้ำ โดยพระโคจะอาบน้ำทุกวัน เพื่อช่วยลดกลิ่นเหงื่อ กลิ่นไคล กลิ่นที่จะล่อแมลง ซึ่งจะทำให้แมลงรบกวนน้อยลง ความอับ ความชื้นจะไม่ค่อยมี ทำให้พระโคสบายตัวขึ้นพระโคจะฝึกซ้อมก่อนถึงวันพระราชพิธีประมาณ 2 เดือน จากนั้นจะนำพระโคมาอยู่ที่ท้องสนามประมาณ 10 วัน ก่อนถึงวันจริง โดยรถบรรทุก 6 ล้อ คู่ละคัน เพื่อเป็นการสร้างความเคยชิน ให้พระโคปรับสภาพ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ เพราะ ถ้านำพระโคมาใกล้วันจริงเร็วเกินไป พระโคมีเวลาปรับตัวน้อย อาจเกิดปัญหาได้พระ ราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไทยมีกำลังใจในการประกอบอาชีพทางด้าน เกษตรกรรมในแต่ละปี พระโคกินของเสี่ยงทายทั้ง 7 อย่าง เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยแนะแนวทาง เพื่อแก้ไข ตั้งรับ หรือสร้างความพร้อมในการประกอบอาชีพ แต่ต้องควบคู่ไปกับการดูแลเอาใส่ใจของเจ้าหน้าที่และประชาชนทุกคนร่วมด้วย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้วัวหายแล้วล้อมคอก

-มีผิวสีขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำ หรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว ลำเขาเป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวงสีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า

3. โคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน)

            การกระจายของประชากร นิยมเลี้ยงกันมากทางภาคใต้ ซึ่งจากการที่คนภาคใต้ประกอบอาชีพทำนา เมื่อหลังฤดูเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมีนาคม –เมษายน ชาวนาจะปล่อยโคออกหากินตามท้องทุ่งเป็นฝูงใหญ่ โคจากในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านมีโอกาสได้พบกัน ประกอบกับช่วงฤดูผสมพันธุ์โคตัวผู้จึงชนกันแย่งชิงเป็นจ่าฝูง เพื่อจะได้ยึดครองโคตัวเมีย ชาวบ้านจึงเห็นลีลาการชนของโคบางตัว เกิดความรู้สึกพอใจ ประทับใจ และคัดเลือกไว้เป็นโคขุน แต่โดยสว่นใหญ่ในปัจจุบันทางภาคใต้มักจะนำโมาชนกันซึ่งโคขุนจะต้องเป็นโคตัวผู้ที่มีลักษณะดี มีอายุประมาณ 4-6 ปี ต้องมีสายพันธุ์เป็นโคชนโดยเฉพาะ ผ่านการเลี้ยงดูให้ร่างกายแข็งแรงและฝึกชนบ่อยๆ จนกลายเป็นโคชนที่มีคุณสมบัติเด่นเฉพาะ เช่น แข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบในการชน และทรหดอดทนเป็นพิเศษ เป็นต้น โคชนมีมากที่สุดในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และสงขลา




                                                     โคพื้นเมืองภาคใต้ (โคชน)


ลักษณะประจำพันธุ์

มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน ดำ และด่าง ไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 15 กก. น้ำหนักหย่านม เมื่ออายุ 200 วันเฉลี่ย 88 กก. น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 280 - 320 กก.เพศเมีย 230 - 280 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270 - 275 วัน

ลักษณะของวัวชน

      วัวที่จะใช้ชนนั้นจะต้องเป็นพันธุ์วัวชนโดยเฉพาะ วัวใช้งานธรรมดาจะนำมาเป็นวัวชนไม่ได้ ลักษณะของวัวชนที่ดีจะต้องมีใจทรหดอดทน มีไหวพริบในการชนดี และมีลักษณะอื่นๆ ที่ดีอีกหลายอย่างเท่าที่มีผู้กล่าวไว้ถ้าประมวลมาเฉพาะที่สำคัญก็จะได้ดัง นี้

1.ลักษณะ ทั่วๆ ไป จะต้องมีรูปร่างประเปรียว ช่วงตัวยาว ท้องกิ่ว ลำตัวค่อนข้างหนา หลังหนาแบน คอสั้นหนาใหญ่ ช่วงขาสั้นและล่ำสัน คิ้วหนา ตาเล็ก สีตาดำ ใบหูเล็ก โหนกสูงใหญ่ (ภาคใต้เรียกว่าหนอก) มีขวัญที่ใต้โหนกและกลางหลังเยื้องไปทางด้านหน้าเหนียงคอ(ภาษาใต้เรียกว่า แร้ง)หย่อนยาน

2.ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ลักษณะเฉพาะพันธุ์ ที่นำมากล่าวนี้เป็นลักษณะที่เชื่อกันว่าเป็นวัวชนชนิดดีซึ่งจะเลือกกล่าวเพียงบางชนิดเท่านั้น 

3. ลักษณะดีตามสีตัว วัวทางภาคใต้มีสีต่างกันถึง 7 สี แต่สีที่สำคัญคือ ขาวปลอด, ดำนิล, แดง , ลาย (คือดำแซมขาว), ลังสาด (คือคอดำ หัวดำ ท้ายดำ ตรงกลางขาว) สีของวัวนี้ นอกจากจะบอกลักษณะดีชั่ว แล้วยังใช้เป็นชื่อเรียกวัวอีกด้วย เช่นวัวสีขาวเรียกอ้ายขาว สีดำเรียกอ้ายดำ เป็นต้น


3. โคพื้นเมืองภาคกลาง

        



                                                โคพื้นเมืองภาคกลาง (โคลาน)

    ลักษณะประจำพันธุ์ นิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่าย ลำตัวยาวบาง มีสีแดง สีน้ำตาลอ่อน น้ำตาลแก่ ดำ และด่างไม่มีเหนียงสะดือ มีเหนียงคอบาง น้ำหนักแรกเกิด 14 กก. น้ำหนักหย่านมเมื่ออายุ 200 วัน เฉลี่ย 78 กก. น้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 280-300 กก. เพศเมีย 200-260 กก. อายุเมื่อให้ลูกตัวแรก 3 ปี ระยะการอุ้มท้อง 270-275 วัน

การกระจายของประชากร นิยมเลี้ยงกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม และสุพรรณบรี จากการที่เกษตรกรในจังหวัดดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เพื่อเพราะปลูกเสร็จแล้ว พอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวการเกษตรจะนำข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วมาวางเรียงวนในลักษณะวงกลม มีเสาไม้เป็นจุดศูนย์กลางสำหรับผูกโคราว (คาน) โดยใช้วิธีขอแรงานจากโค ของเพื่อนบ้านมาช่วย ซึ่งจะผูกโคเรียงเป็นแถวรายตัวให้พอเพียงกับข้าวที่ตั้งกองรายล้อมไว้ จากนั้นไล่โควิ่งวนเวียนรอบๆ เสาไม้ที่ปักไว้จนกว่าเมล็ดข้าวจะร่วงหล่นจากรวง เกษตรกรจะช่วยกันเก็บฟางออกจนหมดให้เหลือเฉพาะเมล็ดข้าวเปลือก หลังจากเสร็จสิ้นการเก็บข้าวแล้ว เกษตรกรจะมีเวลาว่างในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จึงได้มีผู้คิดนำวิธีการนี้มาใช้และเพิ่มจำนวนโคที่วิ่งได้มากขึ้น นิยมจัดการแข่งขันในบริเวณวัด ต่อมาเริ่มจัดการแข่งขันนอกวัด จากเริ่มแรกเพื่อความสนุกสนาน และต่อมาได้มีการพัฒนาวิธีการแข่งขันเรื่อยๆ จนถึงปี พ.ศ. 2500 จึงได้ริเริ่มเดิมพันการแข่งขันวิ่งวัวลานกันขึ้น

โคลาน


            วัวลาน หรือ วัวระดอก เป็น การละเล่นพื้นบ้านในภาคกลางของไทย โดยใช้วัวพันธุ์ไทย มักจะเล่นในเวลากลางคืน เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ทำงานในตอนกลางวัน การเล่นวัวลานใช้วัวที่มีอายุประมาณ 5-9 ปี วัวแต่ละตัวจะมีเครื่องประดับวัวที่สวยงาม สำหรับสถานที่เล่นวัวลานนั้น นิยมเล่นกันในผืนนาที่ร้างไม่มีการทำนาหรือที่บริเวณกว้างและเรียบ

การเลือพันธ์โคลาน

            วัวพันธุ์ไทย คือ วัวที่มีพื้นเพกำเนิดในประเทศไทย เลี้ยงกันทั่วไปในภาคต่าง ๆ วัวไทยมีกระดูกเล็บบอบบาง วัวไทยมีขนสั้นเกรียนทั่วตัว ขนมีสีต่าง ๆ ตั้งแต่สีดำ สีน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีฟาง ในหน้ายาวหน้าผากแคบ ตาขนาดปานกลาง ขนตามใบหน้าสั้นเกรียน จมูกแคบ ใบหูเล็กกะทัดรัด ปลายหูเรียวแหลมโดยทั่วไปมีเขาสั้นถึงยาวปานกลาง ตั้งแต่ ๑๕-๔๕ เซนติเมตร ตัวเมียมักมีเขาสั้นหรือไม่มีเขา เขามีลักษณะตั้งขึ้นโง้งงุ้มเข้าหากัน และยื่นไปข้าหน้าเล็กน้อย ลำคอบอบบาง ใต้คอมีเหนียงคอเป็นแถบลงไปถึงอก ส่วนต่อระหว่างคอและไหล่มองเห็นได้ชัด เหนือไหล่ของวัวตัวผู้มีก้อนเนื้อ เรียกว่า โหนกหรือหนอก สันหลังลาดขึ้นจากโหนกไปสู่บั้นเอว แล้วลากลงตามบั้นท้ายไปสู่โคนหาง ขายาว วัวไทยมีนิสัยขี้ตื่น ปราดเปรียวกว่าวัวพันธุ์อื่น

การเตรียมความพร้อมของโค

         เจ้าของวัวจะนำวัวของตนเอวมารวมกันแล้วต้อนขึ้นรถยนต์ ซึ่งเป็นรถบรรทุก จะบรรทุกวัวไปยังสถานที่   เล่นวัวลานตามที่นัดหมาย ซึ่งเรียกกันว่า "ลานวัว" ระหว่างทางก็จะมีการโห่ร้องอย่างสนุกสาน เพื่อให้เกิดความครึกครื้น วัวอยู่ตรงกลางรถ คนจะอยู่ที่ท้ายรถ และด้านบนของหัวรถ เมื่อไปถึงลานวัวเป็นเวลาที่พลบค่ำ เจ้าของวัวจะนำวัวลงจากรถบรรทุกนำไปผูกไว้ยัง "ราวผูกวัว" ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้จัดให้มีการเล่นวัวลานเป็นผู้จัดเตรียมไว้ ซึ่งก็จะอยู่ติดกับ "ลานวัว"

 สถานที่เล่นวัวลาน

     สถานที่เล่นวัวลาน คือ ผืนนาที่ร้าง ไม่มีการทำนา หรือลานที่ว่างโล่ง เนื้อที่ประมาณ 350 – 400 เมตร จุดศูนย์กลางที่ให้วัววิ่งจะมีเสา ซึ่งเป็นหลักให้วัววิ่ง เรียกว่า "เสาเกียรติ"

ข้อดีของโคพื้นเมือง

เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหาร เพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยงแบบไล่ต้อน โดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มีอย่างจำกัดได้เป็นอย่างดี
ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่โคที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
ใช้แรงงานได้ดี
แม่โคพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน โคพันธุ์ตาก โคกำแพงแสน หรือโคกบินทร์บุรี
มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารไทย
สามารถใช้งานได้

ข้อเสีย

เป็นโคขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดโคขุนต้องการ คือที่น้ำหนักมีชีวิต 450 กก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
เนื่องจากแม่โคมีขนาดเล็ก จึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับโคพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โรเล่ส์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการคลอดยาก









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น